แจ๊ค เคโวเคียน และ การทำอัตวินิบาตกรรม - แจ๊ค เคโวเคียน และ การทำอัตวินิบาตกรรม นิยาย แจ๊ค เคโวเคียน และ การทำอัตวินิบาตกรรม : Dek-D.com - Writer

    แจ๊ค เคโวเคียน และ การทำอัตวินิบาตกรรม

    เราทำรายงานเรื่องการุณยฆาต(Mercy Killing) แล้วมีเหตุให้ต้องแปลเรื่องราวเกี่ยวกับนายแพทย์คนนี้เพื่อประกอบรายงาน เลยถือโอกาสเอามาแบ่งปันเพื่อนนักอ่านเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆจ้ะ

    ผู้เข้าชมรวม

    896

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    896

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  15 ก.พ. 54 / 04:08 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      อัตวินิบาตกรรม (Assisted Suicide) คือ การเจตนาฆ่าตัวตายโดยมีบุคคลอื่นให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาอุปกรณ์ เช่น ปืนหรือยาเร่งตาย หรือให้ข้อมูล เช่น สอนวิธีใช้ปืน หรือปริมาณยาที่ต้องใช้ หรือทั้งอุปกรณ์และข้อมูล



      ชีวประวัติ แจ็ค เคโวเคียน (
      Jack Kevorkian)

      แจ็ค เคโวเคียน เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1982 ที่เมืองพอนติแอค มลรัฐมิชิแกน เขาเป็นลูกคนกลางในจำนวนพี่น้องสามคนของครอบครัวผู้อพยพชาวอาร์เมเนียนซึ่งลี้ภัยจากเหตุกาณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 

      เนื่องจากเป็นลูกชายคนเดียวของบ้าน ทำให้พ่อและแม่ตั้งความคาดหวังกับเขาไว้สูง เคโวเคียนกลายเป็นหนอนหนังสือตั้งแต่ยังเด็กและมีใจรักในศิลปะการวาดภาพ ระบายสี และเปียโน แต่นอกจากทักษะทางด้านการเรียนแล้ว เคโวเคียนยังเป็นนักคนช่างวิเคราะห์วิจารณ์และไม่ค่อยเห็นด้วยกับความคิดของคนอื่นง่ายๆ โดยเขามักเถียงกับครูที่โรงเรียนบ่อยๆ และบางครั้งก็ถึงกับทำให้ครูอับอายเมื่อไม่สามารถต่อกรกับฝีปากที่คมกริบของเขาได้ ขณะที่การวิพากย์วิจารณ์ครูทำให้เขาเป็นที่ชื่นชอบของเพื่อนร่วมชั้น แต่มันก็ทำให้เขาแปลกแยกจากคนรุ่นราวคราวเดียวกันด้วย เคโวเคียนเข้าศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนอีสเตอร์ จูเนียร์ ไฮสคุล
      และที่นี่เองที่เชาเริ่มเรียนภาษาเยอรมันและญี่ปุ่นด้วยตัวเอง จนเพื่อนๆพากันขนานนามว่าเป็นหนอนหนังสือจอมแปลก และผลที่ตามมาก็คือปัญหาในการหาเพื่อนนั่นเอง นอกจากนี้เขายังหันหลังให้กับแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของหนุ่มสาว โดยเชื่อว่าความรักเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและทำให้เขาเบี่ยงเบนความสนใจออกจากการเรียน ต่อมาในปี ค,, 1945 เคโวเคียนสำเร็จการศึกษาพร้อมเกียรตินิยมจากโรงเรียนพอนติแอค ไฮสคูล ด้วยวัยเพียง 17 ปี

      เมื่อมหาวิทยาลัยมิชิแกนรับเขาเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เคโวเคียนมุ่งมั่นที่จะเป็นวิศวกรโยธา แต่เมื่อเรียนไปได้ครึ่งทางของปีแรกเขาก็เริ่มเบื่อและหันไปให้ความสนใจด้านพฤษศาสตร์และชีววิทยา จากนั้นก็เขาเปลี่ยนเป้าหมาย โดยเลือกที่จะเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์แทน เคโวเคียนจบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยลัยมิชิแกนในปี ค
      ,, 1952 และเริ่มต้นอาชีพพยาธิแพทย์ทันที อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ. 1953 สงครามเกาหลีก็เข้ามาขัดจังหวะการทำงานของเขา และต้องไปเป็นแพทย์สนามที่เกาหลีเป็นเวลา 15 เดือน ก่อนจะเสร็จสิ้นภารกิจที่โคโลราโด

      ขณะทำงานเป็นแพทย์ฝึกหัดในโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยมิชิแกน เคโวเคียนเริ่มให้ความสนใจกับสภาวะใกล้ตายและการตายของผู้ป่วย เขามักเข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้ายบ่อยๆ และถ่ายภาพแววตาของพวกเขาเพื่อระบุช่วงเวลาของการตายที่ชัดเจน โดยเคโวเคียนเชื่อว่าแพทยสามารถใช้ข้อมูลในการแยกแยะการตายออกจากอาการหมดสติ ช็อค หรือ โคม่า เพื่อให้รู้ว่าตอนไหนที่การกู้ชีพไม่เป็นผลอีกต่อไป แต่จริงๆแล้ว เหตุผลประการแรกของผมคือ มันน่าสนใจ และประการที่สองคือ มันเป็นสิ่งต้องห้ามเคโวเคียนบอกกับนักข่าว

      ไม่มีใครยอมรับแนวคิดที่ขัดต่อศีลธรรมได้ และเคโวเคียนก็สร้างประเด็นกับเพื่อนร่วมงานอีกครั้ง เมื่อเขาเสนอให้นำนักโทษประหารมาใช้ในการทดลองทางการแพทย์ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เคโวเคียนได้รับแรงบันดาลใจจากงานวิจัยที่บรรยายถึงการทดลองทางการแพทย์กับอาชญากรของชาวอิยิปต์โบราณ และกำหนดแนวคิดที่ว่า การทดลองสมัยใหม่ต้องไม่เพียงคุ้มค่าเงินทุน หากแต่ต้องคำนึงถึงถึงกลไกความคิดของอาชญากรด้วย ในปี ค.ศ. 1958 เขาได้เปิดเผยความคิดเห็นของตัวเองในการนำเสนองานต่อสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน (American Association for the Advancement of Science) วิธีการที่เขาเรียกว่า การทดลองกับมนุษย์ช่วงใกล้ตายเขากล่าวว่า นักโทษที่ถูกตัดสินประหารชิวิตสามารถทำประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติได้ด้วยการอาสาเข้าร่วมการทดลองทางการแพทย์ซึ่ง ปราศจากความเจ็บปวดในขณะที่พวกเขายังรู้สึกตัวแต่จะจบลงด้วยความตาย จากแนวคิดที่แปลกแยกนี้ทำให้เพื่อนร่วมอาชีพตั้งชื่อเล่นให้เคโวเคียนว่า หมอ มรณะ” (Dr. Death)

      แนวคิดซึ่งเป็นที่ถกเถียงของเคโวเคียนกลายเป็นจุดสนใจของสื่อมวลชนและทำให้เขาถูกไล่ออกจากศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกนในที่สุด เคโวเคียนเข้าฝึกงานต่อที่โรงพยาบาลกลาง พอนติแอค และเริ่มการทดลองเจ้าปัญหาอีกชิ้นหนึ่ง โดยหลังจากได้ยินข่าวเกี่ยวกับการเปลี่ยนถ่ายเลือดจากศพให้กับคนไข้ของทีมแพทย์รัสเซีย เคโวเคียนก็ขอความช่วยเหลือจากนักเทคนิคการแพทย์ นีล นิโคล ในการเลียนแบบการทดลองดังกล่าว ซึ่งผลออกมาเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก และเคโวเคียนเชื่อว่าวิธีการนี้จะสามารถช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บในสนามรบได้ เพราะในกรณีที่เลือดในคลังไม่เพียงพอ แพทย์อาจใช้วิธีของเขาช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บได้ เคโวเคียนเสนอเรื่องนี้ไปยังกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โดยชี้แจงว่าวิธีนี้อาจใช้ได้ในสงครามเวียตนามแต่กลับถูกปฏิเสธและไม่ได้รับเงินสนับสนุนในการศึกษาวิจัยต่อ ยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยดังกล่าวยังทำลายชื่อเสียงของเขา ทำให้เขากลายเป็นที่น่าหวาดกลัวสำหรับเพื่อนร่วมงานและยังทำให้เขาติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี อีกด้วย

      หลังจากสอบผ่านเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในปี ค.ศ. 1960 เคโวเคียนเดินทางไปทั่วประเทศจากโรงพยาบาลหนึ่งไปอีกโรงพยาบาลหนึ่ง โดยเขาได้ตีพิมพ์บทความและจุลสารเกี่ยวกับปรัชญาความตายของเขามากกว่า 30 ชิ้น ก่อนจะตั้งคลินิกของตัวเองใกล้กับเมืองดีทรอยท์ มลรัฐมิชิแกน แต่ต่อมาธุรกิจของเขาก็มีอันต้องล้มเหลวทำให้เคโวเคียนต้องมุ่งหน้าสู่แคลิฟอร์เนียเพื่อทำงานพาร์ทไทม์ถึงสองแห่งที่ ลอง บีช ทว่างานทั้งสองแห่งนั้นก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกันเมื่อเคโวเคียนเกิดมีปากเสียงกับหัวหน้านักพยาธิแพทย์ และเขากล่าวว่าอาชีพของเขาต้องพังทลายเพราะบรรดาแพทย์ที่หวาดกลัวต่อแนวคิดที่สุดโต่งของเขา เคโวเคียนเกษียณตัวเองออกมาเพื่ออุทิศเวลาให้กับการชุบชีวิตโครงการนักโทษแดนประหารของเขาขึ้นมาอีกครั้ง แต่จนถึงปลายปี ค.ศ. 1970 เคโวเคียนก็ยังคงตกงานและสูญเสียคู่หมั้นไป เขายุติความสัมพันธ์ลงหลังจากพบว่าว่าที่เจ้าสาวของเขาขาดระเบียบวินัยในตัวเอง และเขาก็ต้องใช้ชีวิตเพียงลำพัง อาศัยหลับบนรถบ้างเป็นบางครั้ง และประทังชีวิตด้วยอาหารกระป๋องกับเงินประกันสังคมจนถึงปี ค.ศ. 1982

      ในปี ค.ศ.1985 เคโวเคียนเดินทางกลับไปยังมิชิแกนเพื่อเขียนประวัติความเป็นมาของการทดลองในนักโทษประหาร ซึ่งบทความดังกล่าวถูกตีพิมพ์ในหน้าท้ายๆของวารสารแพทยสมาคมแห่งชาติ หลังจากวารสารดังรายอื่นๆปฏิเสธที่จะตีพิมพ์ และในปี ค.ศ. 1986 เคโวเคียนก็ค้นพบหนทางที่จะต่ออายุให้กับโครงการนักโทษแดนประหารของเขา เมื่อมีข่าวเกี่ยวกับแพทย์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ช่วยให้คนไข้ตายอย่างสงบด้วยการฉีดยา การรณรงค์ครั้งใหม่ของเขาเกี่ยวกับการทำอัตวินิบาตกรรม(assisted suicide) หรือ การุณยฆาต(mercy killing) กลายมาเป็นตัวต่อลมหายใจให้กับโครงการทดลองทางการแพทย์เกี่ยวกับผู้ป่วยที่ใกล้ตาย เคโวเคียนเริ่มเขียนบทความชิ้นใหม่เกี่ยวกับประโยชน์ของการทำการุณยฆาต หลังจากนั้นก็ประดิษฐ์เครื่องฆ่าตัวตายที่เขาตั้งชื่อว่า ธานาทรอน (ภาษากรีกแปลว่า มรณจักรกล) เครื่องธานาทรอนประกอบด้วยยาสามขวดซึ่งจะปล่อยยาสามตัวเข้าสู่เส้นเลือดของคนไข้ คือ น้ำเกลือ(saline solution) ตามด้วย
      ยาแก้ปวด(
      painkiller) และสุดท้ายคือสารโพแทสเซียม คลอไรด์ โดยผู้ป่วยสามารถกระทำการดังกล่าวได้ด้วยตัวเองและหลังจากไม่เป็นที่ยอมรับของวารสารทางการแพทย์ระดับชาติและสื่อต่างๆมาหลายปี เคโวเคียนก็กลายเป็นจุดสนใจของทุกคนเพราะเครื่องมือนี้และข้อเสนอของเขาในการตั้งเครือข่าย คลินิกการุณยฆาตหรือ Obitorium ซึ่งเป็นที่ที่แพทย์สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้ตายอย่างสงบ

      แต่เคโวเคียนกลับได้รับชื่อเสียงในแง่ลบในปี ค.ศ. 1990 เมื่อเขาช่วย เจเน็ต แอดคินส์(Janet Adkins) ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ วัย 45 ปีก่ออัตวินิบาตกรรม โดยก่อนที่จะล้มป่วยด้วยโรคนี้ แอดคินส์เคยเป็นสมาชิกของสมาคมเฮ็มล็อค (Hemlock Society) ซึ่งเป็นองค์กรที่สนับสนุนการทำการุณยฆาตแบบสมัครใจให้กับผู้ป่วยระยะสุดท้าย และหลังจากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นอัลไซเมอร์ แอดคินส์ก็เริ่มมองหาคนที่จะช่วยจบชีวิตให้เธอก่อนที่อาการจะเลวร้ายลงจนถึงขีดสุด แล้วเธอก็ได้ยินข่าวเกี่ยวกับการประดิษฐ์ เครื่องฆ่าตัวตายของเคโวเคียน จึงได้ติดต่อสอบถามเขาเกี่ยวกับการใช้เครื่องดังกล่าวกับตัวเธอ เคโวเคียนตอบตกลงที่จะช่วยฆ่าเธอบนรถโฟล์คสวาเกนของเขา โดยเคโวเคียนเป็นคนเจาะสายน้ำเกลือให้ แล้วแอดคินส์ก็คอยเพิ่มยาแก้ปวดและสารพิษให้ตัวเอง หลังจากนั้นห้านาทีเธอก็เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลว เมื่อเรื่องนี้รู้ไปถึงหูนักข่าว เคโวเคียนก็กลายเป็นคนดังระดับชาติและ...ฆาตรกร เขาถูกจับกุมในข้อหาฆาตรกรรม แต่ต่อมาศาลยกฟ้องคดีดังกล่าวเพราะมิชิแกนยังไม่มีมาตรการที่เด็ดขาดต่อการทำอัตวินิบาตกรรม

      ช่วงต้นปี ค.ศ. 1991 ผู้พิพากษามิชิแกนออกกฎหมายห้ามใช้เครื่องฆ่าตัวตายของเคโวเคียนและสั่งระงับใบประกอบวิชาชีพของเขาในปีเดียวกัน แต่การกระทำดังกล่าวก็ยังไม่อาจหยุดยั้งเขาจากความพยายามที่จะช่วยเหลือให้คนฆ่าตัวตายได้ เพราะแม้จะไม่สามารถหาตัวยาที่ต้องใช้ในเครื่องธานาทรอนได้เขาก็ประดิษฐ์เครื่องมือชิ้นใหม่ขึ้นมา เรียกว่า เมอร์ซีทรอน (Mercitron) ซึ่งจะปล่อยแก๊สคาร์บอน มอนอกไซด์เข้าไปในหน้ากากกันแก๊ส (gas mask) แล้วในปีถัดมาสภานิติบัญญัติของมิชิแกนออกกฎหมายให้การทำอัตวินิบาตกรรมเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ทั้งนี้ก็เพื่อหยุดโครงการของเคโวเคียนโดยเฉพาะ ผลก็คือเคโวเคียนถูกจำคุกสองครั้งในปีนั้นเอง เขาได้รับการประกันตัวโดยทนายความ เจฟฟรีย์ ฟีเกอร์ ผู้ซึ่งช่วยให้เคโวเคียนรอดพ้นจากข้อหาด้วยการกล่าวว่า บุคคลไม่ถือว่ามีความผิดในการก่ออัตวินิบาตกรรมหากว่าบุคคลนั้นให้ยาแก่คนไข้โดย มีเจตนาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด แม้ว่าการให้ยานั้นจะเพิ่มความเสี่ยงถึงชีวิตก็ตามแต่เคโวเคียนกลับรู้สึกผิดหวัง และบอกกับนักข่าวว่าเขาอยากอยู่ในคุกต่อไปเพื่อให้โลกได้เห็นถึงความฟอนเฟะของสังคมที่มีทั้งการเสแสร้งและการทุจริต

      ในปี ค.ศ. 1998 สภานิติบัญญัติของมิชิแกนบังคับใช้กฎหมายให้การทำอัตวินิบาตกรรมเป็นอาชกรรม มีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินห้าปีหรือปรับเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีช่องโหว่ทางกฎหมายเหมือนครั้งที่ผ่านมา แต่กระนั้นเคโวเคียนก็ยังคงคอยช่วยสงเคราะห์ผู้ป่วยต่อไป ขณะที่ศาลก็พยายามจับเขาในข้อหาก่ออาชญากรรม

      ความคิดที่จะหันหลังให้กับความท้าทายไม่เคยอยู่ในหัวของเคโวเคียน เขากลับมาทุ่มเทให้กับโครงการของเขามากกว่าเดิมในปี ค.ศ. 1998 โดยอนุญาตให้รายการโทรทัศน์ ซิกส์ตี้ มินิท ของช่องซีบีเอส แพร่ภาพเทปบันทึกการฉีดยาฆ่าตัวตายของ โทมัส ยูค (Thomas Youk) ซึ่งป่วยด้วยโรค ลู เกห์ริก (Lou Gehrig’s disease) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยในเทปดังกล่าวเผยให้เห็นภาพเคโวเคียนช่วยให้ยาแก่คนไข้ของเขา หลังจากนั้นเคโวเคียนก็ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวของทางรายการ และท้าให้ศาลจับเขาตามกฎหมาย คราวนี้พนักงานอัยการจึงจับกุมเขาในข้อหาฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา และเคโวเคียนก็ตัดสินใจที่จะเป็นทนายความให้ตัวเอง

      ในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1999 คณะลูกขุนของมณฑลโอ๊กแลนด์ตัดสินให้ แจ็ค เคโวเคียน มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาและจ่ายยาซึ่งเป็นสารควบคุมโดยผิดกฎหมาย และตัดสินจำคุกเป็นเวลา 25 ปีพร้อมโอกาสในการปล่อยตัวแบบติดทัณฑ์บน ตลอดระยะเวลาสามปีหลังจากนั้นเคโวเคียนพยายามยื่นอุทธรณ์โทษแต่คำขอของเขาก็ไม่เป็นผล

      หลังจากชดใช้ความผิดอยู่ในคุกเป็นเวลากว่าแปดปี เคโวเคียน ได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2007 เนื่องจากมีความประพฤติดีและเขายังให้สัญญาว่าจะไม่ช่วยเหลือผู้ป่วยฆ่าตัวตายอีกเด็ดขาดอีก เคโวเคียนฟื้นตัวจากอาการป่วย (โรคไวรัสตับอักเสบ ซี) อย่างรวดเร็วและเริ่มเดินสายบรรยายเกี่ยวกับการทำอัตวินิบาตกรรมทั่วประเทศ

      ต่อมาในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2010 สถานีโทรทัศน์ เอชบีโอ จัดฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตของเคโวเคียนที่มีชื่อว่า ยู ด้อนท์ โนว์ แจ็ค (You Don’t Know Jack) รอบปฐมทัศน์ โดยได้ อัล ปาชิโน่ (Al Pacino) มารับบทเป็น เคโวเคียน ร่วมด้วย ซูซาน ซารันดอน (Susan Sarandon) และ จอห์น กู๊ดแมน (John Goodman)

       

       

      วาทะแจ็ค เคโวเคียน

      -          ในบรรดาแพทย์ด้วยกัน ผมเชื่อว่ามีมากกว่าครึ่งที่สนับสนุนสิ่งที่ผมทำ

      -          คนห้าถึงหกพันคนตายไปทุกๆปีเพราะรออวัยวะ แต่ไม่เห็นมีใครสนใจ

      -          เธอได้ตัดสินใจแล้วว่าการมีชีวิตอยู่ไม่มีความหมายอีกต่อไป และคุณไม่สามารถตัดสินว่ามันถูกหรือผิด

      -          ไม่มีผู้ป่วยคนไหนอยากยื้อเวลาต่อไป เข้าใจหรือเปล่า ไม่มีแม้แต่คนเดียว

      -          เมื่อจิตใต้สำนึกของคุณบอกว่ากฎหมายไร้ความยุติธรรม ก็อย่าปฏิบัติตาม

       

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×